วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 11


ครั้งที่ 11

วันจันทร์ ที่  20  เมษายน  พ.ศ. 2558



 ความรู้ที่ได้รับ

เริ่มต้นชั่วโมงอาจารย์เฉลยข้อสอบที่ได้ทำกันไปเมื่อครั้งที่แล้ว  ต่อมาอาจารย์มีกิจกรรมสนุกๆมาให้เล่นเพื่อเป็นการผ่อนคลายก่อนเข้าสู่บทเรียน คือเกมทายใจ ดิ่งพสุธา

เนื้อหาวันนี้เรียน เรื่อง การส่งเสริมทักษะต่าๆของเด็กพิเศษ

ทักษะพื้นฐานทางการเรียนรู้

เป้าหมาย
  • ช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
  • มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
  • เด็กรู้สึกว่าฉันทำได้สำคัญ (มั่นใจในตนเอง)
  • พัฒนาความกระตือรือร้น  อยากรู้อยากเห็น
  • อยากสำรวจ อยากทดลอง


ช่วงความสนใจ
  • ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
  • จดจ่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
เด็กอนุบาลช่วงความสนใจ10-15นาที

เด็กพิเศษไม่เกิน5นาที

การเลียนแบบ : พ่อ แม่ พี่น้อง ครู เพื่อน คนรอบตัวเด็ก 


การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ  เวลาเรียกชื่อเรียกชื่อเด็กพิเศษก่อนเพื่อดึงสติแล้วค่อยเรียกเด็กปกติ
  • เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
  • เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
  • คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่      เด็กพิเศษสั่งได้ไม่เกิน 2 คำสั่ง

การรับรู้  การเคลื่อนไหว
  • ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น  
  • ตอบสนองได้อย่างเหมาะสม
การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
  • การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
  • ต่อบล็อก
  • ศิลปะ
  • มุมบ้าน
  • ช่วยเหลือตนเอง



การฝึกใช้กรรไกรต้องสอนให้น้องถือกรรไกรส่วนครูถือกระดาษยืนให้น้องเด็กพิเศษตัด
กระดาษที่ฝึกให้น้องตัดต้องไม่กว้างมีเส้นขีดให้น้องตัด



ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ

  • ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่  ควรมีน้ำหนักหน่อยสำหรับเด็กพิเศษ

  • รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก ไม่ค่อยเหมาะสำหรับเด็กพิเศษ

ความจำ
  • จากการสนทนา
  • เมื่อเช้าหนูทานอะไร
  • แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
  • จำตัวละครในนิทาน
  • จำชื่อครู เพื่อน
  • เล่นเกมทายของที่หายไป

ทักษะคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์

  • การสังเกต
  • การทดลอง
  • การสำรวจ
  • การนับ
  • การวัด
  • การเปรียบเทียบ
  • การจัดหมวดหมู่

การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ

  • จัดกลุ่มเด็ก
  • เริ่มต้นการเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
  • ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
  • ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
  • ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
  • บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
  • รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
  • มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
  • เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
  • พูดในทางที่ดี (ครูต้องชมผลงานเด็กไม่ว่าจะเป็นอย่างไรและต้องไม่ชมเวอร์จนเกินไป)
  • จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว 
  • ทำบทเรียนให้สนุก

การประเมิน

อาจารย์   เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมให้ทำหลากหลายไม่ซ้ำกันสักครั้ง เนื้อหาการสอนชัดเจน อธิบาย

                  ละเอียดครบถ้วน  ให้คำแนะนำเทคนิคต่างๆกับนักศึกษาเสมอ มีการแสดงตัวอย่างประกอบ

ตนเอง    เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีการจดบันทึก ร่วมทำกิจกรรมเป็นอย่างดี ในวันนี้อาจมี

                 คุยบ้างเล็กน้อยและมีอาการเหนื่อยและง่วงบ้างผลมาจากการเรียนลูกเสือในช่วงเช้า

เพื่อน       เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน อาจมีส่งเสียงคุยกันเป็นระยะๆ

                 เพื่อนบ้างคนมีอาการง่วงนอนอ่อนเพลียไม่กระชับกระเชงเท่าที่ควรผลมาจากการเรียนลูกเสือ




                         


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น