วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 12


ครั้งที่ 12

วันจันทร์ ที่  28  เมษายน  พ.ศ. 2558


 ความรู้ที่ได้รับ

โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล
(Individualized Education Program)

แผน IEP

  • แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
  • เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน  และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
  • ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
  • โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก

การเขียนแผน IEP

  • คัดแยกเด็กพิเศษ
  • ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
  • ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะได้ทราบว่าให้เริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
  • เด็กสามารถทำอะไรได้/เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
  • แล้วจึงเริ่มเขียนเเผนIEP
IEP ประกอบด้วย
  • ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
  • ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
  • การระบุความสามารถของเด็กขณะปัจจุบัน
  • เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
  • ระบุ วัน เดือน ปี เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
  • วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
  • ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตนเอง
  • ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
  • ได้รับการศึกษาเเละฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
  • ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
ประโยชน์ต่อครู
  • เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
  • เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะสมกับเด็ก
  • ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
  • เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาความก้าวหน้าของเด็ก
  • ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
  • ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้ได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
  • ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกตนเองอย่างไร
  • เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล

1.การรวบรวมข้อมูล
  • รายงานทางการแพทย์
  • รายงานการประเมินด้านต่างๆ
  • บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง 
2. การจัดทำแผน
  • ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
  • กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
  • จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

การกำหนดจุดมุ่งหมาย

จุดมุ่งหมายระยะยาว 
  • กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
-  น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้   
-  น้องดาวร่วมมือกับผู้ปกครองได้ดีขึ้น  
-  น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้

จุดมุ่งหมายระยะสั้น
  • ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก 
  • เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
  1. จะสอนใคร
  2. พฤติกรรมอะไร
  3. เมื่อไหร่  ที่ไหน  (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
  4. พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
ตัวอย่างเช่น

  • ใคร                               อรุณ
  • อะไร                             กระโดดเชือกขาเดียวได้
  • เมื่อไหร่/ที่ไหน              กิจกรรมกลางแจ้ง  
  • ดีขนาดไหน                  กระโดดได้ขาละ 5 ครั้ง ภายใน 30 วินาที 


  • ใคร                                ธนภรณ์
  • อะไร                              นั่งเงียบๆโดยไม่พูด
  • เมื่อไหร/ที่ไหน             ระหว่างครูเล่านิทาน
  • ดีขนาดไหน                  ช่วงเวลาการเล่นนิทาน 10-15 นาทีเป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน



การใช้แผน 
  • เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
  • นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
  • แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
  • จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
  • ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถโดยคำนึงถึง
  1. ขั้นตอนพัฒนาการของเด็ก
  2. ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
  3. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
การประเมิน
  • โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
  • ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรมอาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์**




  กิจกรรมต่อมาอาจารย์ให้แบ่งกลุ่มเขียนแผน IEP ระดมความคิดภายในกลุ่ม










                     


 กิจกรรมต่อมาเป็นกิจกรรมสอบร้องเพลง 

โดยอาจารย์จับฉลากขึ้นมาเป็นเลขที่ใครคนนั้นออกมาจับ  ฉลากชื่อเพลงพร้อมร้องและเคาะจังหวะ

ดิฉันจับฉลากได้เพลง บ้านของฉัน ซึ่งดิฉันมีความตื่นเต้นมากชอบจำเนื้อสลับกันแต่ก็ผ่านไปได้ด้วยดีคะ





                            


ถ่ายรูปรวมกลุ่มกับอาจารย์






                             


การประเมิน

อาจารย์   เข้าสอนตรงเวลา เนื้อหาในการสอนชัดเจนครบถ้วน อาจารย์ค่อยเน้นสิ่งที่นักศึกษาไม่เข้าใจอยู่เสมอๆค่อยให้คำปรึกษานักศึกษาเป็นอย่างดีมากโดยตลอด ทำให้การเรียนวิชานี้ไม่น่าเบื่อรู้สึกอยากเข้าเรียนทุกครั้งมีความกระตือรือร้นเพราะอาจารย์สอนสนุกไม่กดดันนักศึกษาอาจารย์เบียร์น่ารักมากๆคะ
ตนเอง  เข้าเรียนตรงเวลา มีการจดบันทึกเสมออาจมีคุยเสียงดังบ้างเล็กน้อย ตั้งใจทำกิจกรรมภายในห้องเสมอ มีความสุขทุกครั้งที่ได้เรียนวิชานี้ และจะนำความที่ได้จากวิชานี้ไปใช้ให้ได้มากที่สุดคะ
เพื่อน  เข้าเรียนตรงเวลา มีการจดบันทึกต่างๆ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม สามัคคีกัน อาจมีการส่งเสียงดังบ้างเล็กน้อย


                                          

วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 11


ครั้งที่ 11

วันจันทร์ ที่  20  เมษายน  พ.ศ. 2558



 ความรู้ที่ได้รับ

เริ่มต้นชั่วโมงอาจารย์เฉลยข้อสอบที่ได้ทำกันไปเมื่อครั้งที่แล้ว  ต่อมาอาจารย์มีกิจกรรมสนุกๆมาให้เล่นเพื่อเป็นการผ่อนคลายก่อนเข้าสู่บทเรียน คือเกมทายใจ ดิ่งพสุธา

เนื้อหาวันนี้เรียน เรื่อง การส่งเสริมทักษะต่าๆของเด็กพิเศษ

ทักษะพื้นฐานทางการเรียนรู้

เป้าหมาย
  • ช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
  • มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
  • เด็กรู้สึกว่าฉันทำได้สำคัญ (มั่นใจในตนเอง)
  • พัฒนาความกระตือรือร้น  อยากรู้อยากเห็น
  • อยากสำรวจ อยากทดลอง


ช่วงความสนใจ
  • ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
  • จดจ่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
เด็กอนุบาลช่วงความสนใจ10-15นาที

เด็กพิเศษไม่เกิน5นาที

การเลียนแบบ : พ่อ แม่ พี่น้อง ครู เพื่อน คนรอบตัวเด็ก 


การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ  เวลาเรียกชื่อเรียกชื่อเด็กพิเศษก่อนเพื่อดึงสติแล้วค่อยเรียกเด็กปกติ
  • เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
  • เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
  • คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่      เด็กพิเศษสั่งได้ไม่เกิน 2 คำสั่ง

การรับรู้  การเคลื่อนไหว
  • ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น  
  • ตอบสนองได้อย่างเหมาะสม
การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
  • การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
  • ต่อบล็อก
  • ศิลปะ
  • มุมบ้าน
  • ช่วยเหลือตนเอง



การฝึกใช้กรรไกรต้องสอนให้น้องถือกรรไกรส่วนครูถือกระดาษยืนให้น้องเด็กพิเศษตัด
กระดาษที่ฝึกให้น้องตัดต้องไม่กว้างมีเส้นขีดให้น้องตัด



ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ

  • ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่  ควรมีน้ำหนักหน่อยสำหรับเด็กพิเศษ

  • รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก ไม่ค่อยเหมาะสำหรับเด็กพิเศษ

ความจำ
  • จากการสนทนา
  • เมื่อเช้าหนูทานอะไร
  • แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
  • จำตัวละครในนิทาน
  • จำชื่อครู เพื่อน
  • เล่นเกมทายของที่หายไป

ทักษะคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์

  • การสังเกต
  • การทดลอง
  • การสำรวจ
  • การนับ
  • การวัด
  • การเปรียบเทียบ
  • การจัดหมวดหมู่

การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ

  • จัดกลุ่มเด็ก
  • เริ่มต้นการเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
  • ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
  • ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
  • ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
  • บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
  • รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
  • มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
  • เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
  • พูดในทางที่ดี (ครูต้องชมผลงานเด็กไม่ว่าจะเป็นอย่างไรและต้องไม่ชมเวอร์จนเกินไป)
  • จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว 
  • ทำบทเรียนให้สนุก

การประเมิน

อาจารย์   เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมให้ทำหลากหลายไม่ซ้ำกันสักครั้ง เนื้อหาการสอนชัดเจน อธิบาย

                  ละเอียดครบถ้วน  ให้คำแนะนำเทคนิคต่างๆกับนักศึกษาเสมอ มีการแสดงตัวอย่างประกอบ

ตนเอง    เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีการจดบันทึก ร่วมทำกิจกรรมเป็นอย่างดี ในวันนี้อาจมี

                 คุยบ้างเล็กน้อยและมีอาการเหนื่อยและง่วงบ้างผลมาจากการเรียนลูกเสือในช่วงเช้า

เพื่อน       เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน อาจมีส่งเสียงคุยกันเป็นระยะๆ

                 เพื่อนบ้างคนมีอาการง่วงนอนอ่อนเพลียไม่กระชับกระเชงเท่าที่ควรผลมาจากการเรียนลูกเสือ




                         


ครั้งที่ 10



ครั้งที่ 10

วันจันทร์ ที่  30  มีนาคม  พ.ศ. 2558


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน  

เนื่องจากย้ายมาเรียน

วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

แทนคะ


ครั้งที่ 9


ครั้งที่ 9

วันจันทร์ ที่  23  มีนาคม  พ.ศ. 2558



วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน

เนื่องจาก สอบเก็บคะแนนความรู้ที่เรียนมาทั้งหมด

คะแนนเก็บ10คะแนนคะ





ครั้งที่ 8


ครั้งที่ 8

วันจันทร์ ที่ 16  มีนาคม  พ.ศ. 2558



ความรู้ที่ได้รับ

  วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมทดสอบทางจิตวิทยามาให้นักศึกษาเล่นเกี่ยวกับสวนสตอเบอรรี่

เนื้อหาในวันนี้อาจารย์สอนเรื่อง  การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง

 เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
                       การกินอยู่
                    การเข้าห้องน้ำ
                      การแต่งตัว
           กิจวัตรต่างๆ ในชีวิตประจำวัน

การสร้างความอิสระ
  • เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
  • อยากทำงานตามความสามารถ
  • เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่าและผู้ใหญ่
  • การสอนตัวต่อตัวใส่ใจเป็นพิเศษ

ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
  • การทำได้ด้วยตนเอง
  • เชื่อมั่นในตนเอง 
  • เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี

หัดให้เด็กทำเอง

  • ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
  • ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
  • ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
  • หนูทำช้า ** หนูยังทำไม่ได้  (ห้ามบอกเด็ก)

จะช่วยเมื่อไหร่

  • เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
  • หลายครั้งเด็กจะขอความชาวยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
  • เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
  • มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม
  

ตารางทักษะการช่วยเหลือตนเองในแต่ละวัย










 ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง (การย่อยงาน)
  • แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
  • เรียงลำดับตามขั้นตอน (ครูต้องทำให้เป็น)
ตัวอย่างการย่อยงาน  การเข้าส้วม (น้องที่เป็นดาวน์ซินโดมต้องสอนแบบนี้)

-  เข้าไปในห้องส้วม                              -  กดชัดโครกหรือตักน้ำราด
-  ดึงกางเกงลงมา                                 -  ดึงกางเกงขึ้น
- ก้าวขึ้นไปนั่งบนโถส้วม                      - ล้างมือ
-  ปัสสาวะหรืออุจจาระ                          - เช็ดมือ
- ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น                       - เดินออกจากห้องส้วม
- ทิ้งกระดาษชำระในตระกล้า   

การวางแผนทีละขั้น
  • แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด



   สรุป
  • ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
  • ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
  • ความสำเร็จขั้นเล็กๆ นำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
  • ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
  • เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ

  
ต่อมาเป็นกิจกรรมร้องเพลง




และกิจกหลังเรียน

  1. อาจารย์แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่น
  2. จุดตรงกลางกระดาษ1จุดขนาดเล็กใหญ่ตามใจชอบ
  3. ระบายวงกลมรอบๆจุดไปเรื่อยๆขนาดตามใจชอบ
  4. ตัดวงกลมที่ได้ออก
  5. นำวงกลมที่ได้ไปติดตรงลำต้นที่อาจารย์เตรียมไว้ให้
ภาพบรรยากาศการทำกิจกรรม












  ประโยชน์ที่ได้รับจากกิจกรรม
  1. มิติสัมพันธ์
  2. ความคิดสร้างสรรค์
  3. การแสดงออกความรู้สึกผ่านชิ้นงาน
  4. การกล้าแสดงออก
  5. การทำงานร่วมกับผู้อื่น
  6. ฝึกการใช้กล้ามเนื้อมือ

การประเมิน

อาจารย์   เข้าสอนตรงเวลามีกิจกรรมมาให้นักศึกษาทำหลากหลายทำให้นักศึกษาไม่เบื่อในการเรียน
                 อธิบายเนื้อหาชัดเจนครบถ้วน เน้นสิ่งที่สำคัญอยู่เสมอ ให้คำปรึกษานักศึกษาเป็นอย่างดีเปิด                    โอกาสให้นักศึกษาสอบถามแสดงความคิดเห็น
ตนเอง      เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนมีการจดบันทึกเสมอ ทำกิจกรรมด้วยความตั้งใจ
เพื่อน       เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี ร้อง                     เพลงเพราะ อาจมีส่งเสียงดังบางในบางครั้ง


                       

ครั้งที่ 7


ครั้งที่ 7

วันจันทร์ ที่ 9  มีนาคม  พ.ศ. 2558



  ความรู้ที่ได้รับ

  วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมทดสอบทางจิตวิทยามาให้นักศึกษาเล่น ทุ่งหญ้าสะวันนา  กิจกรรมต่อมาอาจารย์ให้นักศึกษาดูVDO ผลิบานผ่านมือครู ในเนื้อหาVDO มีกิจกรรมบำบัดเด็กพิเศษที่น่าสนใจสามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ในอนาคตได้





    เนื้อหาในวันนี้อาจารย์สอน เรื่อง    การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

ทักษะทางภาษา

การวัดความสามารถทางภาษา  (ถ้าเด็กคนใดขาดไปข้อใดข้อหนึ่งน่าเป็นห่วง)
  • เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
  • ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
  • ถามหาสิ่งต่างๆไหม
  • บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
  • ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม

การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
  • การพูดตกหล่น
  • การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกสียง  
  • ติดอ่าง 

การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
  • ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
  • ห้ามบอกเด็กว่าพูดช้าๆ”  “ตามสบาย”  “คิดก่อนพูด
  • อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด (ปล่อยให้เด็กพูดให้จบ)
  • อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
  • ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
  • เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน (บางครั้งเด็กอาจไม่ค่อยได้ยินหูอาจไม่ค่อยดี)

ทักษะพื้นฐานทางภาษา
  • ทักษะการรับรู้ภาษา
  • การแสดงออกทางภาษา
  • การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด   (เด็กพิเศษทุกอาการชอบทำ ครูต้องดูให้ออก)

ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
  • การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
  • ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
  • ให้เวลาเด็กได้พูด
  • คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
  • เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว (ครูไม่ควรพูดมากเกินไป)
  • เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
  • ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
  • กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่ควรคาดการณ์ล่วงหน้า)
  • เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
  • ใช้คำถามปลายเปิด
  • เด็กพิเศษรับรู้ได้มากเท่าไหร่  ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
  • ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

การสอนตามเหตุการณ์


ตัวอย่างการสอนตามเหตุการณ์

(ชอบใช้มากในเด็กพิเศษ)




 หลังจากนั้นอาจารย์มีกิจกรรมบำบัดเด็กพิเศษให้ทำ ดนตรีบำบัด

โดยอาจารย์ให้จับคู่ 2 คน จากนั้นให้เลือกสีเทียนคนละ1สีที่แตกต่างกันลากเส้นไปพร้อมๆกับฟังเพลงที่อาจารย์เปิดโดยลากเส้นห้ามยกมือขึ้นเด็ดขาดเมื่อเพลงจบให้ทั้งคู่ระบายสีเส้นที่ตัดกัน

ผลงานของเราทั้ง 2 คนคะ









ผลงานของเพื่อนๆ



 ประโยชน์จากกิจกรรมนี้
  1. ฝึกสมาธิเด็ก
  2. เกิดทักษะมิติสัมพันธ์
  3. ฝึกการใช้กล้ามเนื้อมือ
  4. ฝึกการสังเกต
  5. การทำงานร่วมกับเพื่อนเกิดการเรียนรู้

 การประเมิน

  อาจารย์  เข้าสอนตรงเวลา เตรียมเนื้อหาในการสอนครบถ้วน อธิบายเข้าใจง่ายเน้นเนื้อหาที่สำคัญๆ มีการ                   แนะนำเทคนิคต่างๆให้นักศึกษาเสมอ ให้คำปรึกษานักศึกษาเป็นอย่างดี
  ตนเอง      แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา มีการจดบันทึกที่อาจารย์สอนแนะนำเพิ่มเติม ตั้งใจทำ                         กิจกรรมที่อาจารย์ให้เต็มที่
  เพื่อน        แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา มีการจดบันทึกที่อาจารย์สอนแนะนำเพิ่มเติม มีคุยบาง