วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 4


ครั้งที่ 4

วันจันทร์ ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558



      ความรู้ที่ได้รับ

    วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมให้ทำโดยอาจารย์กระดาษ1แผ่นพร้อมแจกถุงมือคนละ1ข้างโดยให้สวมมือข้างที่ไม่ถนัดแลเวให้วาดภาพมือข้างที่ไม่ถนัดลงไปให้เหมือนกับของจริง  ดังภาพ




                                                       จากนั้นครั้งที่สองวาดโดยไม่ใส่ถุงมือให้เหมือนจริง ดังภาพ



        สรุปคือ มือของเรานั้นอยู่กับเราตลอดเวลาแต่เราไม่เคยสังเกตหรือใส่ใจมือของเราเลยว่ามีรายละเอียดเป็นอย่างไงเปรียบได้คือครูอาจคิดว่าอยู่กับเด็กตลอดเวลาแต่ครูไม่สามารถจดจำราลละเอียดของเด็กทุกคนได้ทั้งหมดครูควรมีการจดบันทึกพฤติกรรมเด็กในขณะที่เห็นเลยไม่ใช่แค่จำแล้วค่อยมาบันทึกทีหลัง


เนื้อหาวันนี้  ...  การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ

   ทักษะของครูและทัศนคติ  :  ครูควรปรับทัศนคติของตนเองให้ได้ก่อนมองเด็กพิเศษเหมือนเด็กปกติ
   การฝึกเพิ่มเติม   :  อบรมระยะสั้น  สัมมนา  สื่อต่างๆ
 การเข้าใจภาวะปกติ  :  เด็กมักคล้ายคลีงกันมากกว่าแตกต่าง  ครูต้องเรียนรู้  มีปฏิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
                                  มองเด็กให้เป็นเด็ก 
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า  :  การเข้าใจพัฒนาการของเด็กจะช่วยให้ครูสามารถเห็นความแตกต่างของเด็ก
                                                          แต่ละคนได้ง่าย
ความพร้อมของเด็ก :  วุฒิภาวะ  แรงจูงใจ โอกาส
การสอนบังเอิญ (ใช้ได้ดีที่สุดในเด็กพิเศษ) : .ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม  เด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้นครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก (อย่าไล่เด็กหรือรำคาญเด็ก) ครูต้องสนใจเด็ก ครูต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก
อุปกรณ์ : มีลักษณะง่าย ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย สื่อที่ดีต้องมีวิธีการเล่นที่ไม่ตายตัว
ตารางประจำวัน : กิจกรรมต้องเรียงลำดับขั้นตอนและเด็กสามารถทำนายได้ว่าสิ่งต่อไปทำอะไร คำนึงถึงความเหมาะสมของเวลา
ความยืดหยุ่น : การอก้แผนสอนให้เหมาะสมอย่ายึดติดกับแผนที่เขียนมากจนเกินไปว่าจะต้องตรงตามแผนเสมอ
การใช้สหวิทยากร :  .ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่น
การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้ (การให้แรงเสริม)  : เด็กทุกคนสอนได้ เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส
เทคนิคการให้แรงเสริม (แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่) : ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักเป็นผลในทันที หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นก็จะลดลงและหายไป
วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่ :  ตอบสนองด้วยวาจา การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก พยับหน้ารับ ยิ้ม ฟัง สัมผัสทางกาย

ตัวอย่างเช่น การให้ตุ๊กตา


หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย :  ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์
การแนะนำหรือบอกบท : ย่อยงาน ลำดับความยากง่าย การลำดับงานเป็นการเสริมแรงเพื่อให้เด็กค่อยๆก้าวไปสู้ความสำเร็จ การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ 
ขั้นตอนการให้แรงเสริม : สังเกต กำหนดจุดมุ่งหมาย วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละขั้น สอนจากง่ายไปยาก
การกำหนดเวลา : จำนวนและแรงความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม
ความต่อเนื่อง : สอนแบบก้าวหน้าไปข้างหน้าหรือย้อนมาจากข้างหลัง
เด็กตักซุป : การจับช้อน การตัก การระวังไม่ให้น้ำในช้อนหกก่อนถึงปาก การเอาซุปออกจากช้อนก่อนถึงปาก




การลดหรือหยุดแรงเสริม : ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
ความคงเส้นคงวา : ครูต้องปฏิบัติกับเด็กอย่างสม่ำเสมอ

  การประเมิน 

อาจารย์ : เข้าสอนตรงเวลาชี้แจงเน้นเนื้อหาระเอียดเข้าใจง่ายครถ้วน มีการยกตัวอย่าง
เพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
ตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีการจำบันทึก







วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 3



ครั้งที่ 3

วันจันทร์ ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558



      ความรู้ที่ได้รับ

           เริ่มต้นชั่วโมงอาจารย์ให้ทำกิจกกรรมโดยอาจารยืมีรูปดอกบัวให้ดูแล้วให้วาดภาพดอกบัวที่เห็นพร้อมบรรยายใต้ภาพสิ่งที่เราเห็นจากดอกบัว


ภาพตัวอย่าง
ภาพวาดจากดิฉันเองค่ะ


       จากนั้นวันนี้อาจารย์ได้สอนเนื้อหาเรื่อง บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม

       ครูไม่ควรวินิจฉัยโดยดูจากอาการเด็กหรือสัญญาณบางอย่างจากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
 
        ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็กชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไปจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี

        ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ

       ครูทำอะไรบ้าง

  • ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยบกับพัฒนาการต่างๆ
  • สังเกตเด็ฏอย่างเป็นระบบ
  • จะบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ

สังเกตอย่างเป็นระบบไม่มีใครสังเกตอย่างเป็นระบบได้ดีกว่าครู

       การบันทึกการสังเกต

  • นับอย่างง่ายๆ นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรมกี่ครั้งในแต่ละวันกี่ครั้งในแต่ละชั่วโมงระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
  • การบันทึกต่อเนื่อง (ดีที่สุดในการบัทึกเด็กพิเศษ) ให้รายละเอียดได้มากเขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่งโดยไม่ต้องเข้าไปช่วยเหลือหรือแนะนำ พฤติกรรมทุกอย่างจดให้ครบแบบละเอียด
   ตัวอย่างเช่น




      การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
  • บันทึกลงบัตรเล็กๆ เขียนเฉพาะสิ่งหลักๆที่เห็นอย่าเขียนเยอะ 
  • เป็นการบันทึกอย่างสั้นเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง
  ตัวอย่างเช่น


      การตัดสินใจ

  • ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
  • พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่

      กิจกรรมหลังเรียน อาจารย์มีเพลงทั้งหมด5เพลงมาสอนร้องดังนี้






     การนำไปประยุกต์ใช้
  1. รู้ถึงรูปแบบและหลักการต่างๆในการสังเกต
  2. สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในอนาคตได้
  3. สามารถนำเพลงที่อาจารยืสอนไปใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆได้

      การประเมิน

    ตนเอง :  เข้าเรียนสายนิดหน่อยตรงตามเวลาที่กำหนดให้สายได้15นาที ตั้งใจฟังตั้งใจจดบันทึก ทำกิจกรรมในห้องเรียนด้วยความตั้งใจ แต่งกายถูกระเบียบ

    เพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจจดบันทึก  ให้ความร่วมมือในการทำกิจกกรมตั้งใจวาดภาพอย่างสวยงาม มีการซักถามอาจารย์

    อาจารย์ : เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมให้ทำอย่างหลากหลายทำให้การเรียนการสอนไม่น่าเบื่ออาจารย์สอนสนุกเข้าใจง่ายเน้นเนื้อหาใจความสำคัญอย่างชัดเจน   





วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 2

ครั้งที่ 2

วันจันทร์ ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558




  
    ความรู้ที่ได้รับ

      วันนี้อาจารย์สอนเรื่องรูปแบบการจัดการศึกษา
  •     การศึกษาปกติทั่วไป  ( Regular Education )
  •     การศึกษาพิเศษ ( Special    Education )
  •     การศึกษาแบบเรียนร่วม ( Integrated   Education หรือ Mainstreaming ) 
  •     การศึกษาแบบเรียนรวม ( Integrated   Education )  

      การศึกษาแบบเรียนร่วม คือ การจัดในเด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปทำกิจกรรมร่วมกันใช้ช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง

  •       การเรียนร่วมบางเวลา ( Integration )  การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติบางเวลาซึ่งเด็กที่เรียนในกลุ่มนี้เป็นเด็กพิเศษที่มีอาการระดับปานกลางถึงระดับมากอาการค่อนข้างหนัก

  •      การเรียนร่วมเต็มเวลา ( Mainstreaming )  การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ ในกลุ่มนี้เป็นเด็กพิเศษที่มีอาการไม่หนัก กิจกรรมทั้งวันทำได้เหมือนเด็กปกติ

      การศึกษาแบบเรียนรวม (ใช้สากลทั่วโลก ) คือ การศึกษาสำหรับทุกคน รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่่เริ่มเข้ารับการศึกษา

      Wilson,2007 

  • การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่ร่วมกัน ( Inclusion ) เป็นหลัก
  • การสอนที่ดีเป็รการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
  • กิจกรรมทุกชนิดจะนำไปเป็นการสอนที่ดี (Good Teaching) ต้องคิดอย่างรอบคอบ

  ความหมายการศึกษาแบบเรียนรวมในสากลทั่วโลก


    "Inclusive Education is Education for all,
It involves receiving people
at the beginning of their education,
with provision of  additional services
needed by each individual"



 การศึกษาแบบเรียนรวม เป็นการศึกษาสำหรับทุกคน
จะเกี่ยวข้องกับการรับบุคคล
เรื่มตั้งแต่ช่วงแรกของการศึกษาในชีวิต
แต่ละบุคคลก็ต้องได้รับการช่วยเหลือ
ที่ได้รับของแต่ละบุคคล

     การนำไปประยุกต์ใช้

  1. มีความรู้เกี่ยวกับการศึกษาแต่ละรูปแบบมากขึ้นและสามารถนำไปจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเรียนการสอน
  2. สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการออกฝึกสอนหรือในอนาคตได้

    การประเมิน

   ตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียนร้อยตั้งใจจดบันทึก

   เพื่อน :  เข้าเรียนตรงเวลาตั้งใจฟังเวลาที่อาจารย์สอนมีการถามตอบกับอาจารย์

   อาจารย์ :  เข้าสอนตรงเวลาแต่งกายสุภาพ สอนเข้าใจง่ายอธิบายระเอียดเน้นจุดสำคัญ